Audio tourWiang Kum Kam
2 sights
- Audio tour Summary
-
Audio tour Summary
เวียงกุมกาม
ร่องรอยเวียงกุมกาม เมืองในตำนานปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 หรือ 30 กว่าปีมาแล้ว โดยชาวบ้านขุดพบพระพิมพ์ดินเผาแบบต่างๆ จำนวนมากในบริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ
มีการสำรวจเรื่อยมา จนในปี 2545 พบว่ามีร่องรอยวัดร้างในเขตกำแพงเวียงกุมกาม 25 แห่ง และนอกกำแพง 5 แห่งการขุดแต่งทางโบราณคดี พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 รุ่นเดียวกับชุมชนโบราณริมน้ำปิงแห่งอื่นเช่น เวียงมโน เวียงท่ากาน เวียงเถาะ โดยมีเศษจารึกภาษามอญโบราณเป็นหลักฐาน
เวียงกุมกามเป็นชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 600 เมตร ยาว 850 เมตร ขนานไปตามลำน้ำปิงสายเก่า ซึ่งเรียกกันว่า ปิงห่าง คือเป็นบริเวณแม่น้ำปิงที่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากสายน้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง
การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย วัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย กลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด และทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันออกดังที่เป็นในปัจจุบัน
สภาพเวียงกุมกามถูกทำลายไปมาก แต่ยังพบร่องรอยของกำแพงเมืองซึ่งเป็นคันดิน และเห็นเป็นกำแพง 2 ชั้นตรงกลาง ระหว่างกำแพงคั่นด้วยคูเมืองสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในเมือง
หลักฐานที่ปรากฏ ทั้งทางด้านเอกสาร ตำนานพงศาวดาร และหลักฐานด้านโบราณวัตถุ โบราณสถาน ชี้ชัดว่ามีการตั้งถิ่นฐานชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ตั้งแต่ระยะก่อนสมัยล้านนา หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙
เรื่องราวส่วนใหญ่ในเอกสาร เขียนสอดคล้องกันเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของ เวียงโบราณแห่งหนึ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง สร้างโดยพญามังราย
แต่ก็ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ในเรื่องการระบุศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของเอกสารโบราณ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเรียบเรียง จากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมมีข้อผิดพลาดในการคัดลอก - 1 WAT CHEDILIEM
- 2 WAT THATKHAO
- 3 WAT PUPIA
- 4 WAT E KHANG
- 5 WAT NANCHANG
- 6 WAT KU PADOM
- 7 WAT CHANGKAM
-
Audio tour Summary
เวียงกุมกาม
ร่องรอยเวียงกุมกาม เมืองในตำนานปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 หรือ 30 กว่าปีมาแล้ว โดยชาวบ้านขุดพบพระพิมพ์ดินเผาแบบต่างๆ จำนวนมากในบริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียนวัดช้างค้ำ
มีการสำรวจเรื่อยมา จนในปี 2545 พบว่ามีร่องรอยวัดร้างในเขตกำแพงเวียงกุมกาม 25 แห่ง และนอกกำแพง 5 แห่งการขุดแต่งทางโบราณคดี พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 รุ่นเดียวกับชุมชนโบราณริมน้ำปิงแห่งอื่นเช่น เวียงมโน เวียงท่ากาน เวียงเถาะ โดยมีเศษจารึกภาษามอญโบราณเป็นหลักฐาน
เวียงกุมกามเป็นชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 600 เมตร ยาว 850 เมตร ขนานไปตามลำน้ำปิงสายเก่า ซึ่งเรียกกันว่า ปิงห่าง คือเป็นบริเวณแม่น้ำปิงที่ถูกทิ้งร้างเนื่องจากสายน้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง
การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย วัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย กลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด และทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันออกดังที่เป็นในปัจจุบัน
สภาพเวียงกุมกามถูกทำลายไปมาก แต่ยังพบร่องรอยของกำแพงเมืองซึ่งเป็นคันดิน และเห็นเป็นกำแพง 2 ชั้นตรงกลาง ระหว่างกำแพงคั่นด้วยคูเมืองสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในเมือง
หลักฐานที่ปรากฏ ทั้งทางด้านเอกสาร ตำนานพงศาวดาร และหลักฐานด้านโบราณวัตถุ โบราณสถาน ชี้ชัดว่ามีการตั้งถิ่นฐานชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ ตั้งแต่ระยะก่อนสมัยล้านนา หรือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙
เรื่องราวส่วนใหญ่ในเอกสาร เขียนสอดคล้องกันเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของ เวียงโบราณแห่งหนึ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง สร้างโดยพญามังราย
แต่ก็ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ในเรื่องการระบุศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของเอกสารโบราณ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเรียบเรียง จากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมมีข้อผิดพลาดในการคัดลอก
Reviews
No reviews yet
Write the first review